โรคสมาธิสั้นเกิดจากอะไร โตแล้วจะหายไหม

ทราบไหมว่า นร.ไทย 40-50 คน มีเด็กสมาธิสั้น 2 คน และเด็กประถมในกรุงเทพฯ 5% เป็นโรคสมาธิสั้น  “โรคสมาธิสั้น” กลายเป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม เพราะนับวันยิ่งใกล้ตัวมากขึ้น การสังเกตพฤติกรรมของลูกอย่างมีความรู้ จะสามารถรู้ได้ว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้นหรือไม่

โรคสมาธิสั้นคืออะไร? 

โรคสมาธิสั้น หรือ Attention-Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) เป็นภาวะบกพร่องในการทำหน้าที่ของสมอง ที่มีอาการหลักเป็นความผิดปกติทางพฤติกรรม 3 ด้าน  

1.อาการขาดสมาธิต่อเนื่อง/สมาธิสั้น (Inattention)  

พฤติกรรม เช่น ทำตามคำสั่ง/กิจกรรมไม่สำเร็จ ดูเหมือนไม่ฟังเมื่อมีคนพูดด้วย ทำผิดด้วยความเลินเล่อ มีความยากลำบากในการจัดระเบียบงาน ทำของหายบ่อยๆ ลืมกิจวัตประจำวันที่ต้องทำสม่ำเสมอ ทำงานที่ต้องใช้ความพยายามไม่เสร็จหรือไม่เรียบร้อย 

2.อาการอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity) 

พฤติกรรม เช่น ขยับตัวไปมา ไม่อยู่นิ่ง ซนกว่าเด็กในวัยเดียวกัน นั่งไม่ติดที่ลุกเดินไปมา วิ่งวุ่น ปีนป่ายในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม ไม่สามารถเล่นเงียบๆได้ พูดมากเกินไป 

3.อาการหุนหันพลันแล่น (Impulsivity) 

พฤติกรรม เช่น ไม่สามารถรอคอยได้ ชอบพูโพล่ง ขัดจังหวะหรือสอดแทรกผู้อื่น ใจร้อน วู่วาม บางครั้งดูก้าวร้าว 

โรคสมาธิสั้นเกิดจากอะไร 

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากระดับสารเคมีในสมองที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสมาธิไม่สมดุล ทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ดี แม้ว่าเด็กจะพยายามควบคุมตนเองแล้วก็ตาม จากผลการศึกษา ส่วนใหญ่พบว่ามีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยเด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นโรคซนสมาธิสั้นมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าเด็กคนอื่นๆ ถึง 4 เท่า นอกจากนี้แล้ว ยังพบว่า การที่พ่อแม่ติดเหล้า ติดบุหรี่ ติดสารเสพติด หรือป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ ก็เชื่อว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดโรคซนสมาธิสั้นได้เช่นกัน 

โรคสมาธิสั้นจะหายไหมเมื่อโตขึ้น? 

โรคสมาธิสั้นสามารถรักษาให้อาการดีขึ้นหรือหายขาดได้ แต่เด็ก 60-85%จะยังมีอาการจนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นและ 40-50% จะมีอาการต่อเนื่องไปถึงวัยผู้ใหญ่ 

ถ้าสงสัยว่าลูกเป็นโรคสมาธิสั้นควรทำอย่างไร? 

ควรพาไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง อาจเริ่มจากพาไปหาแพทย์ทั่วไป ถ้าเด็กมีอาการรุนแรงหรือมีโรคที่พบร่วมที่รุนแรง หมออาจแนะนำให้ส่งต่อเพื่อปรึกษากุมารแพทย์หรือจิตแพทย์ให้ดูแลต่อไป ยังมีอาการจนเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นและ 40-50% จะมีอาการต่อเนื่องไปถึงวัยผู้ใหญ่ 

โรคสมาธิสั้น ต้องอาศัยการสังเกตของคุณพ่อคุณแม่ คอยดูแลเอาใจใส่ ว่าลูกมีพฤติกรรมอย่างที่กล่าวมาไหม หากพบหรือไม่แน่ใจควรรีบไปปรึกษาแพทย์ อย่าปล่อยไว้จนอาการรุนแรง