ลูกป่วยบ่อย ทำยังไงดี มีวิธีป้องกันอย่างไร

ลูกป่วยบ่อย กินยาแล้วสองสามวันก็กลับมาป่วยอีก ถือว่าสร้างความไม่สบายใจกับคุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างมาก ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดก็คือการป้องกัน โดยสิ่งที่ควรทำก็มีดังต่อไปนี้

ลูกป่วยบ่อย ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การให้ลูกดื่มนมแม่ที่มีสารอาหารมากมายช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยให้ห่างไกลโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคลำไส้อักเสบ และโรคมะเร็งบางชนิด โรคภูมิแพ้ โรคท้องร่วง โรคปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น

เน้นให้ลูกทานผัก และผลไม้

หากลูกทานอาหารแข็งได้แล้ว แนะนำว่าควรให้ทานผัก ผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระให้มากขึ้น เช่น แครอท ถั่วเขียว ส้ม สตอเบอรรี่ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงได้หลายโรคไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ปริมาณที่แนะนำก็คือ ผัก และผลไม้ใน 10 ช้อนโต๊ะ/วัน ส่วนเด็กโต 1 ถ้วย/วัน

ให้ลูกนอนหลับให้เพียงพอ

หนึ่งในสาเหตุหลักที่ลูกน้อยป่วยบ่อยก็คือ นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ดังนั้นหากเด็กไม่ยอมนอนกลางวัน กลางคืนควรพาเข้านอนให้เร็วกว่าปกติ ลูกก็จะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงมากขึ้น เด็กแรกเกิดควรนอนไม่น้อยกว่าวันละ18 ชั่วโมง วัยหัดเดินควรนอนไม่น้อยกว่าวันละ 12-13 ชั่วโมง เด็กก่อนวัยเรียนควรนอนวันละ 10 ชั่วโมง

ใส่ใจเรื่องสุขอนามัย

คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกให้ลูกมีนิสัยล้างมือบ่อย ๆ สอนเรื่องการจาม การใช้ห้องน้ำ เพื่อป้องกันเชื้อโลกต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายจนเจ็บป่วยได้ง่าย หากลูกป่วยควรทิ้งแปรงสีฟันของลูกทันทีเป็นการป้องกันการเพื่อป้องกันเชื้อโรคไม่ให้แพร่กระจายต่อคนในครอบครัว

ให้อยู่ห่างจากควันบุหรี่มือสอง

การที่เด็กอยู่ใกล้กับควันบุหรี่ ที่เต็มไปด้วยสารท็อกซินที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ในร่างกายจะส่งผลให้เด็กป่วยได้ง่าย นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อ โรคไหลตายในเด็ก โรคหลอดลมอักเสบ โรคติดเชื้อที่หู โรคหอบหืด รวมไปถึงส่งผลเสียต่อสมอง และระบบประสาท

ลูกป่วยบ่อย ควรพาออกไปเจอธรรมชาติ

หากช่วงไหนอากาศสดชื่นแจ่มใสไม่มีฝุ่นควัน การพาลูกไปเดินเล่นในสวน เจอกับต้นไม้ ใบหญ้า รับแสงแดดอ่อน ๆ บ้าง เพื่อรับวิตามินดี จะช่วยให้เด็กแข็งแรงมากขึ้น และการได้เดิน วิ่งเล่น กระโดดโลดเต้นยังเป็นการออกกำลังกายไปในตัวอีกด้วย

อย่างไรก็ตามหากทำตามวิธีเหล่านี้ ลูกป่วยบ่อย ไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์จะเป็นการดีที่สุด เพื่อจะได้หาสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษาอย่างถูกต้อง หากนิ่งนอนใจจนลูกอาการหนักอาจจะแก้ไขไม่ทันได้