เรื่องควรรู้ก่อนการผ่าตัดไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่ด้านหน้าของลำคอ โดยที่ส่วนดังกล่าวจะทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนเพื่อควบคุมระบบการเผาผลาญภายในร่างกาย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์จากการสังเกตอาการ หรือคลำพบก้อนที่คอ โดยที่จุดสังเกตก็คือก้อนนั้นจะสามารถเคลื่อนที่ขึ้นลงได้ตามจังหวะการกลืน ถ้าหากผู้ป่วยคนไหนที่มีอาการผิดปกติ มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องรับการตรวจ และวินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อหาโอกาสของการเป็นมะเร็งไทรอยด์ ซึ่งการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นก็จะมีความสำคัญอย่างมากกับการรักษา เพราะฉะนั้นเรื่องควรรู้ก่อนการผ่าตัดไทรอยด์ที่นำเอามาให้ได้ดูกันในวันนี้จะมีประโยชน์ได้อย่างแน่นอน

1.เมือ่ไหร่ถึงจำเป็นต้องผ่าตัดไทรอยด์

โรคของต่อมไทรอยด์นั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกันนั่นก็คือ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ และเนื้องอกไทรอยด์ ซึ่งก็จะมีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป จะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ เพื่อมองหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมมากที่สุด สำหรับผู้ป่วยที่พบว่ามีความผิดปกติของระดับฮอร์โมนไทรอยด์ที่สูง หรือก็คือ ไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งก็จะต้องเข้ารับการรักษาเป็นหลักก็คือ ทางยาปรับฮอร์โมน แต่ถ้าหากไม่สามารถควบคุมได้ และมีขนาดของก้อนที่ใหญ่จนเกินไป จำเป็นจะได้รับพิจารณาให้เข้ารักษาโดยการผ่าตัด

อีกหนึ่งกลุ่มก็คือ ถ้าหากผลเลือดที่ตรวจพบว่ามีระดับฮอร์โมนไทรอยด์เป็นปกติ แต่พบว่ามีก้อนเนื้อ หรือก็คือ เนื้องอกต่อมไทรอยด์ ซึ่งอาจจะมี 1 หรือ 2 ข้างก็ได้ ก็จะได้รับการรักษาตามอาการ ซึ่งทุกกลุ่มจำเป็นจะต้องได้รับการรักษา และดูแลเป็นพิเศษ

2.ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดไทรอยด์

เพราะผู้ป่วยไทรอยด์ในแต่ละคนก็จะมีอาการ และระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งบางคนอยู่ในขั้นทานยารักษาอาการ หรือบางคนอยู่ในขั้นรุนแรงจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งข้อบ่งชี้ของผู้ป่วยที่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดไทรอยด์จะมีดังต่อไปนี้

  • ผลเจาะดูดชิ้นเนื้อพบว่าเป็นมะเร็งไทรอยด์
  • ผลเจาะดูดชิ้นเนื้อพบลักษณะเซลล์ที่ผิดปกติแบบก้ำกึ่ง ซึ่งเพิ่มโอกาสของการเป็นมะเร็ง
  • ผลเจาะดูดชิ้นเนื้อพบว่าเป็นเนื้องอกชนิดดี แต่ก้อนมีขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 2-4 เซนติเมตร ขึ้นไป หรือ มีจำนวนหลายก้อน มีอาการของการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง เช่น หลอดลม หลอดอาหาร

3.การผ่าตัดไทรอยด์

สำหรับการผ่าตัดไทรอยด์ ก็จะถูกแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลักๆ ซึ่งแต่ละปัญหาก็จะได้รับการผ่าตัดที่แตกต่างกันออกไป เพื่อเป็นการป้องกัน และดูแล ตามขั้นตอนที่เหมาะสมดังต่อไปนี้

  • การผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิดบริเวณคอ : จะเป็นวิธีการผ่าตัดแบบมาตรฐานดั้งเดิม สามารถทำการผ่าตัดก้อนเนื้องอกได้ทุกขนาด ซึ่งผลข้างเคียงคือจะมีแผลเป็นตรงบริเวณที่ได้รับการผ่าตัด อาจจะส่งผลโดยตรงต่อความมั่นใจ และคุณภาพชีวิต
  • การผ่าตัดไทรอยด์แบบผ่านกล้อง : สำหรับวิธีนี้จะมีความละเอียดสูง เพราะจะมีความแม่นยำ และคมชัดเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดไม่เกิดรอยแผล เหมาะกับก้อนต่อมไทรอยด์ที่มีขนาดไม่ใหญ่เกิน 6 ซม.

ปัจจุบันเทคโนโลยี และเครื่องมือทางการแพทย์ได้รับการพัฒนาออกมาให้มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับการผ่าตัดไทรอยด์ ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งโรคที่หลายๆ คนให้ความกังวล เพราะฉะนั้นหมั่นสังเกตอาการ และความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพื่อที่จะสามารถป้องกัน และเข้ารักษาได้รวดเร็ว และทันเวลา