ความเชื่อในเรื่องพิธีกรรมโบราณเกี่ยวกับพระราชพิธีทั้ง 12 เดือน

ความเชื่อตั้งแต่โบราณ หรือแม้แต่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นมาจากปู่ ย่า ตา ยาย หรือพ่อ แม่ ความเชื่อเหล่านี้ล้วนแล้วจะมีเหตุผลที่ค่อนข้างจะอธิบายได้ยาก แต่ลูกๆ หลายๆ ก็มักจะยอมฟัง และทำตามเสมอ ถึงแม้ในใจอาจจะคัดค้านก็ตาม แต่ด้วยคำว่าความเชื่อ ยิ่งไปกว่านั้นก็คือความเชื่อในพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าเหลือเชื่อเพราะส่วนใหญ่แล้วสิ่งเหล่านี้ก็มักจะเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นการตักเตือน หรือสั่งสอน ด้วยความห่วงใยเสมอ เพราะสังคมไทยเป็นสังคมที่มีการพัฒนามาอย่างยาวนาน จึงไม่แปลกที่จะมีความเชื่อ และพิธีกรรมต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะวัฒนธรรมประเพณีที่ถือว่ามีความโดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเกิดขึ้นมาจากการผสมผสานทั้งจากความเชื่อในทางศาสนา และความเชื่อในอำนาจจากสิ่งเหนือธรรมชาติเอาไว้ด้วยกัน โดยที่หลายๆ คน อาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ พระราชพิธี 12 เดือน กับความเชื่อต่างๆ มากมาย

ซึ่งประเพณีของไทยนั้นจะมีด้วยกันทั้งหมด 12 เดือน ไม่ว่าจะเป็นประเพณีหลวง หรือประเพณีราษฎร์ ทั้งหมดล้วนได้ถูกพัฒนามาจากพิธีกรรมโบราณจากในอดีต ซึ่งได้มีนักมนุษย์วิทยาได้อธิบายเอาไว้ว่า พิธีกรรม คือพฤติกรรมที่คนภายในชุมชมร่วมกันแสดงออกมาอย่างเป็นรูปธรรมด้วยพื้นฐาน และสำนึกตามระบบความเชื่อ รวมไปถึงศาสนาที่แตกต่างกัน แต่ทั้งหมดก็เพื่อความประสงค์ และความต้องการที่คล้ายคลึงกัน นั่นก็เพื่อ การดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอด จึงส่งผลให้ต้องการต่อเนื่องจนกลายมาเป็นประเพณี โดยเฉพะพิธีกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการทำมาหากิน เรื่องของสังคม รวมไปถึงในด้านของการเกษตรกรรมต่างๆ เพราะในอดีตเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ได้มีความก้าวหน้าอย่างในปัจจุบัน จึงทำให้มีพิธีกรรมความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจ และกำลังใจให้กับชาวบ้าน ซึ่งก็ได้กลายมาเป็น ความเชื่อในเรื่องพิธีกรรมโบราณเกี่ยวกับพระราชพิธีทั้ง 12 เดือน เพราะส่วนใหญ่แล้วก็ล้วนแต่เป็นพิธีที่ถูกคิดค้นมาเพื่อชาวบ้านทั้งนั้น แต่สำหรับประเพณีหลวงบางอย่าง ก็ถูกคิดค้นเพื่อส่งเสริมความชอบธรรมในฐานะผู้ปกครองของพระมหากษัตริย์ บางพิธีก็จะช่วยสร้างเสริมความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงครอบคลุมในเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมืองเป็นหลักเช่นเคย ซึ่งพระราชพิธี 12 เดือนตามความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมโบราณจะมีดังต่อไปนี้

  • เดือน 5 การพระราชพิทธีเผดจ์ศกลดแจตร ออกสนาม
  • เดือน 6 พิทธีไพศากขย จรดพระราชอังคัล
  • เดือน 7 ทูลน้ำล้างพระบาท
  • เดือน 8เข้าพระวษา
  • เดือน 9 ตุลาภาร
  • เดือน 10 พัทรบท พิทธีสารท
  • เดือน 11 อาสยุชแข่งเรือ
  • เดือน 12 พิทธีจรองเปรียง ลดชุดลอยโคม
  • เดือน 1 ไล่เรือ เถลิงพิทธีตรียำพวาย
  • เดือน 2 การพิทธีบุตรยาภิเศก เฉวียรพระโคกินเลี้ยง
  • เดือน 3 พิทธีธานยะเทาะห
  • เดือน 4 การสํพรรษฉิน

จะเห็นได้ง่าแต่ละเดือนก็จะมีพิธีกรรมที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งทุกอย่างได้ถูกคิดค้น และกำหนดให้ออกมาตรงกับความเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา เพราะในช่วงเวลาต่างๆ ก็จะมีความแตกต่าง และข้อจำกัด รวมไปถึงความต้องการที่แตกต่างกันออกไป ทั้งในเรื่องภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย โดยในบางพิธีกรรมก็ยังคงมีการดำรงไว้อยู่ถึงปัจจุบัน ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าได้ถูกคิดค้นให้ออกมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างดี